ถังอาหารหมู2019-12-09T13:16:44+00:00

ถังอาหารหมูกับการเลี้ยงหมูให้ได้คุณภาพสูงสุด

ไปดูกันว่าถังอาหารหมูมีความสำคัญอย่างไรกับการเลี้ยงหมูให้มีสุขภาพดีให้ผลตอบแทนสูงถังอาหารหมูถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญในลำดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้สำหรับธุรกิจฟาร์มเลี้ยงหมู เพราะถ้าใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน คุณภาพดี มีการทำงานที่แม่นยำแล้ว จะเป็นหนึ่งตัวช่วยที่สำคัญในการลดต้นทุนการผลิตให้กับผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี และยังทำให้หมูที่เลี้ยงไว้แข็งแรง มีสุขภาพดี ไม่ป่วยหรือตายง่ายเป็นผลผลิตที่มีคุณภาพอีกด้วยเราควรเลือกใช้ถังอาหารหมูแบบไหนดี ?ปัจจุบัน ถังอาหารหมูมีมากมายหลายแบบ ทั้งรูปทรงและขนาดที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงวัสดุที่ใช้ และมีให้เลือกหลากหลายราคา ถือเป็นทางเลือกให้กับผู้ประกอบการในการตัดสินใจ บางรายเพิ่งเริ่มต้นด้วยเงินลงทุนไม่มากนัก ย่อมต้องการอุปกรณ์ที่มีขนาดกระทัดรัดราคาย่อมเยาว์ แต่บางรายที่มีรากฐานแน่นหนาอยู่แล้ว และต้องการเพิ่มผลผลิตทางธุรกิจก็ย่อมมองหาอุปกรณ์อย่างดีมีมาตรฐานสูง เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการลงทุนและผลตอบแทนที่ดีที่สุด ซึ่งมันก็แล้วแต่เหตุผลของแต่ละคนเป็นหลัก แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ คือทุกคนต้องการอุปกรณ์ที่มีคุณภาพและคุ้มค่ากับการลงทุนในยุคนี้ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีปริมาณและคุณภาพสูง สามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจได้มากที่สุด

ถังอาหารหมูมีหลากหลายรูปแบบดังนี้
ถังอาหารหมูมีลักษณะและรูปทรงที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมและลักษณะการใช้งาน ที่เห็นกันในปัจจุบันมี 3 แบบคือ
1. แบบทรงกรวย
2. แบบทรงกระบอก
3. แบบถังสี่เหลี่ยม

ซึ่งก็แล้วแต่ดุลยพินิจของผู้ประกอบการว่าต้องการแบบไหน ในส่วนของวัสดุก็เช่นกัน ปัจจุบันมีทั้งแบบที่ทำจากพลาสติกและอลูมิเนียม ซึ่งมีใหเลือกหลายขนาดตามความต้องการ จึงควรเลือกให้เหมาะกับขนาดและอายุของหมูด้วย ที่สำคัญต้องคำนึงถึงคุณภาพ เพื่อการใช้งานที่คุ้มค่ากับการลงทุน เพราะถ้าใช้ถังอาหารหมูที่มีคุณภาพจะช่วยลดการตกหล่นของอาหารเวลากิน ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ประหยัดแล้ว ยังทำให้หมูที่เลี้ยงมีสุขภาพแข็งแรงกินอาหารได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะถังอาหารที่ดี สามารถปล่อยอาหารออกมาได้อย่างต่อเนื่อง จึงมีส่วนช่วยในการลดต้นทุนให้กับเกษตรกรได้อีกทางหนึ่งด้วย
จะเห็นได้ว่าถังอาหารหมูมีส่วนสำคัญต่อการเลี้ยงหมูอย่างมาก จึงเป็นสิ่งที่เกษตรกรผู้ประกอบการรุ่นใหม่ หันมาใส่ใจและให้ความสำคัญในเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้กันมากขึ้น เพราะอุปกรณ์ทุกชิ้นที่เราเลือกใช้ มีส่วนสำคัญในการเจริญเติบโตของหมู และการเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพดี ย่อมทำให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพตามไปด้วย อีกทั้งยังสามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่อาจดูเล็กน้อย แต่พอรวมกันมาก ๆ เข้า ก็สามารถช่วยเรื่องความประหยัดได้อย่างมาก ยิ่งเราเอาใจใส่ในทุกขั้นตอนมากเท่าไหร่ ผลตอบแทนที่ได้มา ก็ย่อมเป็นที่น่าพอใจมากเท่านั้น

เผยเทคนิคการให้อาหารหมูง่าย ๆ ว่าควรใส่อะไรลงไปบ้างในถังอาหารหมู

สุกรหรือหมูเป็นสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมจากเกษตรกรทั่วประเทศไทยมาเป็นระยะเวลานานแล้ว นั่นก็เพราะเนื้อสุกรคือเนื้อสัตว์ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และในวงการเลี้ยงสุกรของประเทศไทยทุกวันนี้ ได้มีการพัฒนาก้าวหน้ามากขึ้น โดยเฉพาะกับฟาร์มขนาดกลางและขนาดใหญ่ การพัฒนาที่ว่าก็เริ่มมาตั้งแต่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพันธุ์ให้โตเร็ว ให้ผลผลิตสูง ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของสุกรนั้นอย่างไรก็คงไม่หนีพ้นด้านอาหารการกินที่ต้องใส่ถังอาหารหมู ผู้เลี้ยงสุกรจึงมีความจำเป็นที่จะต้องรู้เกี่ยวกับอาหารก่อนจะใส่ลงไปในถังอาหารหมู เพื่อที่จะสามารถนำมาพัฒนาการประกอบสูตรอาหารสุกรของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ก่อนจะรู้ว่าผู้เลี้ยงจะสามารถใส่หรือผสมอะไรลงไปในถังอาหารหมูได้บ้าง ก็ควรต้องรู้เสียก่อนว่าสารอาหารอะไรที่จะทำให้ร่างกายสุกรเจริญเติบโต ซึ่งจริงก็คล้ายมนุษย์นั่นแหละ

  1. โปรตีน มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของสุกรมาก มีส่วนช่วยสร้างเนื้อเยื่อของสุกร
  2. น้ำ เช่นเดียวกับมนุษย์น้ำที่สุกรกินต้องสะอาดไม่มีสิ่งเจือปน ปกติสุกรกินน้ำ 5 – 20 ลิตรต่อวันแล้วแต่ขนาดตัว
  3. คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารแหล่งให้พลังงานชั้นเยี่ยม ที่จะเปลี่ยนเป็นแป้งและน้ำตาล
  4. ไขมัน เป็นอาหารที่ให้พลังงาน เช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรต แต่ให้พลังงาน
  5. แร่ธาตุ แร่ธาตุเป็นสิ่งจำเป็นมากที่สุด สำหรับการทำงานของร่างกาย มีหน้าที่เสริมสร้างกระดูก และต้านโรค ในร่างกายสุกรมีแร่ธาตุ มากกว่า 40 ชนิดเลยทีเดียว
  6. วิตามิน เป็นสารประกอบอินทรีย์ มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิต ซึ่งที่มีประโยชน์ต่อสัตว์มีมากถึง 50 ชนิด

ส่วนการใส่อาหารสุกรลงไปในถังอาหารหมูควรมีการให้อาหารตามการเจริญเติบโตของสุกรในระยะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  1. ลูกสุกรระยะดูดนมแม่ ให้อาหารสุกรเป็นนมโปรตีน 22% หรืออาหารสุกรอ่อนโปรตีน 20% เมื่อลูกสุกรมีอายุ 10 วัน ถึงหย่านม 28 วัน
  2. สุกรระยะน้ำหนัก 20 – 35 กิโลกรัม ให้อาหารในถังอาหารหมูเป็นโปรตีน 18% ให้กินอาหารวันละ 1-2 กิโลกรัม
  3. ระยะน้ำหนัก 35 – 60 กิโลกรัม ให้อาหารโปรตีน 16% วันละ 2 – 2.5 กิโลกรัม
  4. ระยะน้ำหนัก 30 กิโลกรัม-ส่งตลาด ให้อาหารโปรตีน 14 – 15 % วันละ 2.5-3.5 กิโลกรัม
  5. การใส่อาหารลงถังอาหารหมูพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ ให้อาหารโปรตีนประมาณ 15 – 16 % ในพ่อพันธุ์ตัวใหญ่ 150 กิโลกรัมขึ้นไปให้อาหารวันละ 2 – 2.5 กิโลกรัม ส่วนพ่อพันธุ์เล็ก 100 – 150 กิโลกรัม ให้อาหารวันละ 2 กิโลกรัม

อย่าลืมเป็นอันขาดว่าการให้อาหารสุกรลงไปในถังอาหารหมูนั้น จำเป็นต้องคำนวณจากน้ำหนักตามอัตราการเจริญเติบโตของหมู เพื่อให้เกษตรกรหรือผู้เลี้ยงได้หมูที่มีคุณภาพมากที่สุดเวลาส่งออกไปขาย

เลี้ยงสุกรต้องมีอะไรบ้าง ความรู้ที่มากกว่าเรื่องโรงเรือน อาหารและถังอาหารหมู

อย่างที่รู้ว่าสุกรหรือหมู คือสัตว์ที่ถูกบริโภคเนื้ออันดับหนึ่ง อาชีพเลี้ยงหมูจึงเป็นอาชีพที่เหมาะสม รายได้ดีและสามารถทำเงินได้ต่อเนื่องเรื่อย ๆ เพราะไม่ว่าใครก็ต้องกินเนื้อสุกรทั้งนั้น จึงมักพบเห็นฟาร์มสุกรน้อยใหญ่เกิดขึ้นมากมาย และสำหรับใครที่เริ่มสนใจอยากหันมาเลี้ยงสุกรเป็นอาชีพ บทความนี้นำข้อมูลดี ๆ มาฝาก ทั้งเรื่องโรงเรือน อาหาร ที่มากกว่าความรู้เรื่องถังอาหารหมู

จุดเริ่มต้น

ก่อนการหาถังอาหารหมูจำเป็นต้องมีการเริ่มต้นโดยการซื้อลูกหมูหย่านมมาเลี้ยงก่อน โดยวิธีเลือกแนะนำว่าควรเลือกลูกหมูที่มีโครงกระดูกใหญ่ เส้นท้องตรง เส้นหลังโค้งงาม ตัวยาว ขาตรง แข็งแรง คางกว้างใหญ่ ขนและหนังละเอียดเป็นมัน ตาใสไม่ขุ่นมัว และสะดือต้องไม่จุ่นเพราะหมูตัวนั้นจะไม่เป็นไส้เลื่อน ถ้าเป็นตัวผู้ให้ตอนก่อนส่วนตัวเมียไม่จำเป็นต้องตอน จากนั้นให้ถ่ายพยาธิ และฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์สุกรใน 1 อาทิตย์ให้หลัง

วิธีเลือกพันธุ์หมูควรเป็นลูกผสม 2 หรือ 3 สายเลือดจะดีกว่าพันธุ์แท้ 100% เพราะหมูลูกผสมจะเลี้ยงง่าย โตเร็วกว่าเลือดเดียว รวมทั้งทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศมากกว่าด้วย เมื่อเลือกลูกหมูได้แล้วต่อไปที่ต้องนึกถึงไม่ใช่เรื่องถังอาหารหมูแต่เป็นโรงเรือน

ทำโรงเรือน

โรงเรือนเลี้ยงหมูขุนอาจทำง่าย ๆ ใช้ไม้กลมขนาดเท่าแขนตีห่างกัน 3 นิ้ว ใช้กั้นเป็นฝาคอก ขนาดกว้างยาวตามชอบหรือกะเอาตามจำนวนหมู เช่น 3×4 เมตรหรือ 4×4 เมตรแล้วแต่ ควรมีประตูเข้าออก ส่วนหลังคาอาจมุงด้วยฝ้าหรือแผ่นเมทัลชีท โดยมุงด้านหน้าคอกไปทางหลังเพียง 2 ใน 3 เท่านั้น ด้านหลังควรเว้นไว้ให้หมูถูกแสง พื้นคอกเทคอนกรีต เพื่อกันหมูขุดดิน โดยคอกขนาค 3×4 เมตร สามารถเลี้ยงลูกหมูหย่านมได้ 12-15 ตัว เมื่อหมูโตขึ้นก็ควรแยกไปเลี้ยงคอกอื่น จากนั้นจัดหาอุปกรณ์อื่น ๆ ได้เเก่ กระบะน้ำ ถังอาหารหมู เป็นต้น โดยเฉพาะถังอาหารหมูควรมี 1 ถังสำหรับหมู 5 – 6 ตัว

อาหาร

อาหารสำหรับหมูขุนที่ใส่ในถังอาหารหมู อาจใช้เป็นอาหารถุงสำเร็จรูปจากบริษัท หรือซื้อหัวอาหารมาผสมเอง ก็ได้ แต่การซื้อหัวอาหารเข้มข้น มาผสมกับรำ ปลายข้าว หรือข้าวโพด เพื่อประหยัดปริมาณต้นทุนได้บ้าง แต่ก็ควรเตรียมสูตรอาหารให้มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนเพียงพอตามการเติบโต เป็นต้นว่า ลูกหมูหย่านมก็ควรจะได้รับโปรตีน 18% ขณะที่หมูรุ่นใช้อาหารที่มีโปรตีน 15-16% ส่วนหมูขนาด 50 – 60 กิโลกรัม มีโปรตีน 13-14% หมูขนาด 60 – 100 กิโลกรัม ให้มีโปรตีน 12-13% เป็นต้น

การเริ่มต้นเลี้ยงหมูจึงไม่ใช่แค่มองหาถังอาหารหมูเท่านั้น ทำโรงเรือนเพียงเท่านั้น แต่เกษตรกรต้องรู้การเลือกพันธุ์หมูเบื้องต้นตามที่ได้แนะนำไป รวมถึงยังต้องรู้การให้อาหารหมูอีกด้วยว่า หมูที่น้ำหนักเท่าไหร่ควรให้อาหารที่มีปริมาณโปรตีนเท่าใดจะดีต่อหมูมากที่สุด