ปัจจัยอะไรบ้างที่ควรคิดก่อนสร้างโรงเรือนไล่ตั้งแต่ แผ่นพื้นคอกหมู , ผนัง , หลังคา รวมถึงการจัดคอก
การสร้างโรงเรือนหมูขึ้นมาสักหนึ่งโรงจำเป็นมากที่จะต้องพิจารณาให้ดีทั้งในเรื่องของความคุ้มค่าต่าง ๆ ก่อนลงมือสร้างตั้งแต่วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำ เช่น แผ่นพื้นคอกหมู แผ่นผนัง หลังคา เป็นต้น ทั้งหมดก็เพื่อให้ได้โรงเรือนที่มีมาตรฐานเหมาะสมในราคาที่ประหยัดที่สุด ทั้งยังส่งผลต่ออัตราผลผลิตในอนาคตด้วย ดังนั้นจึงมาดูกันก่อนว่าปัจจัยอะไรบ้างที่ผู้อยากเลี้ยงหมูหรืออยาทำฟาร์มหมูต้องพิจารณาให้ดีก่อนลงมือทำ
- พื้นคอกหมูเป็นส่วนที่สำคัญมาก ทางที่ดีควรเลือกใช้แผ่นพื้นคอกหมูที่เป็นแผ่นสแลท เพราะพื้นแบบนี้จะไม่หยาบหรือลื่นจนเกินไป จึงช่วยในเรื่องของความสะดวกเวลาผู้เลี้ยงต้องทำความสะอาด นอกจากเหตุผลด้านความสะอาดพื้นคอกยังมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของหมู แผ่นพื้นคอกหมูที่ดีจึงควรมีความลาดเอียงไปทางด้านที่เราจะระบายมูลหมูลงไปเพื่อป้องกันไม่ให้พื้นคอกเปียก
- ผนังกั้นคอก ต้องเลือกที่ทำจากวัสดุแข็งแรงอาจเป็นไม้ เหล็กท่อประปา ลวดถัก หรืออิฐ เนื่องจากหมูชอบกัดแทะและงัดคอก
- หลังคาวัสดุที่ใช้ทำหลังคา ถ้าเป็นจากหรือแฝกก็จะมีราคาถูกและส่งผลต่ออุณหภูมิภายในโรงเรือนที่เย็นสบาย แต่ในระยะยาวแล้วไม่ทนทานและไม่ได้มาตรฐานจึงไม่แนะนำ ทางที่ดีควรใช้หลังคาสังกะสี , ฝ้า , กระเบื้อง หรืออลูมิเนียมจะคงทนกว่า ถึงราคาแพงแต่ในระยะยาวนับว่าคุ้มค่ากว่า เหมือนกับการใช้แผ่นพื้นคอกหมูที่ในระยะยาวจะคุ้มมาก ๆ
- การจัดสร้างคอกภายในโรงเรือน ให้แบ่งจัดตามการเลี้ยงมี 2 แบบ คือ แบบโรงเรือนหมูพ่อแม่พันธุ์ กับโรงเรือนหมูขุน ซึ่งการจัดโรงเรือนหมูพ่อแม่พันธุ์ มีทั้งหมด 5 คอก คือ
- คอกหมูพ่อพันธุ์ เป็นคอกสี่เหลี่ยม ขนาด 2×3 เมตร พื้นคอกใช้แผ่นพื้นคอกหมูสแลท ฝาผนังอาจเป็นอิฐบล็อก สูง 1-1.5 เมตรป้องกันไม่ให้หมูกระโดด
- คอกหมูสาวทดแทน ในระยะแรกเลี้ยงรวมกัน คอกหนึ่งไม่ควรเกิน 6 ตัว เพื่อกระตุ้นให้หมูเป็นสัดเร็วขึ้น
- คอกแม่พันธุ์ ให้เป็นซองขังเดี่ยวตั้งติด ๆ กัน แผ่นพื้นคอกหมูแม่พันธุ์ใช้พื้นสแลท เพื่อให้คอกแห้งไม่ลื่น
- คอกคลอดและเลี้ยงลูก ลักษณะเป็นคอกสี่เหลี่ยมแบ่ง 2 ส่วนคือ ส่วนซองสำหรับแม่เพื่อไม่ให้เหยียบหรือทับลูก กับส่วนพื้นที่ว่างสำหรับลูกเป็นที่กกให้ความอบอุ่นและให้นม
- คอกอนุบาล สำหรับเลี้ยงลูกสุกรหย่านมจนถึง 10 สัปดาห์
ส่วนคอกหมูขุนแผ่นพื้นคอกหมูก็ใช้แผ่นสแลทเช่นกัน โดยแบ่งคอกเป็น 1) คอกสุกรรุ่น น้ำหนัก 15-35 กิโลกรัม 2) คอกสุกรขุน น้ำหนัก 35-60 กิโลกรัม และ 3) คอกสุกรขุน น้ำหนัก 60-120 กิโลกรัมที่ส่งตลาด ซึ่งทั้งการจัดคอกให้เหมาะสมจะมีผลทำให้จำนวนหมูในคอกไม่แออัด และใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้เต็มที่ และหากนำการจัดคอกที่ดีมารวมกับโรงเรือนที่สร้างได้มาตรฐาน ตั้งแต่พื้นคอก ฝาผนัง หลังคา จะได้โรงเรือนที่ดีที่สุดโรงเรือนหนึ่งเลยล่ะ