รู้จักโรงเรือนเลี้ยงหมูลักษณะต่าง ๆ และแผ่นพื้นคอกหมูจำเป็นหรือไม่ต่อการเลี้ยงหมู

>>รู้จักโรงเรือนเลี้ยงหมูลักษณะต่าง ๆ และแผ่นพื้นคอกหมูจำเป็นหรือไม่ต่อการเลี้ยงหมู

รู้จักโรงเรือนเลี้ยงหมูลักษณะต่าง ๆ และแผ่นพื้นคอกหมูจำเป็นหรือไม่ต่อการเลี้ยงหมู

รู้จักโรงเรือนเลี้ยงหมูลักษณะต่าง ๆ และแผ่นพื้นคอกหมูจำเป็นหรือไม่ต่อการเลี้ยงหมู

แน่นอนว่าการเลี้ยงหมูไม่ว่าที่ไหน หากจะทำให้ได้มาตรฐานอย่างไรเสียก็ต้องสร้างเป็นรูปแบบฟาร์ม ส่วนจะการสร้างโรงเรือนลักษณะอย่างไรนั้นก็มักขึ้นอยู่กับ 1. เงินทุน และ 2. ปริมาณหมูที่เกษตรกรจะเลี้ยง โรงเรือนจึงถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการผลิตหมู รวมทั้งมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคด้วยโดยเฉพาะในโรงเรือนที่ใช้แผ่นพื้นคอกหมูที่ดี ซึ่งลักษณะโรงเรือนที่รับความนิยมส่วนใหญ่เป็นดังนี้

รูปแบบโรงเรือนที่พบได้บ่อย

  1. โรงเรือนเปิด คือลักษณะโรงเรือนที่เปิดโล่งหรือไม่ก็ใช้กำแพงฝากั้นเป็นบางส่วน โดยโรงเรือนแบบนี้จะมีอุณหภูมิอากาศภายในเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิภายนอก หรือระบายอากาศได้ง่าย แต่ก็ต้องระวังเรื่องนก แมลงวัน ยุง และฝุ่นละอองเข้าออกได้ง่ายเช่นกัน รวมทั้งควรระวังเรื่องกลิ่นและเรื่องเสียงของหมูด้วย และไม่ว่าอย่างไรก็ตามพื้นก็ควรต้องปูด้วยแผ่นพื้นคอกหมูเป็นแผ่นสแลทเพื่อการระบายมูลหมูได้ง่ายขึ้น
  2. โรงเรือนแบบปิด ซึ่งทุกวันนี้โรงเรือนดังกล่าวเป็นที่นิยมมากโดยเฉพาะกับฟาร์มขนาดใหญ่ มี 2 ลักษณะคือโรงเรือนปิดแบบไม่ถาวรที่ด้านข้างของโรงเรือนจะปิดด้วยผ้าใบที่สามารถชักขึ้นลงได้ และแบบถาวรที่ก่ออิฐทึบทั้งสองด้าน โดยโรงเรือนทั้งสองแบบต้องใช้แผ่นพื้นคอกหมู ภายในโรงเรือนแบบต้องควบคุมอุณหภูมิโดยใช้ระบบทำความเย็นด้วยน้ำ หรือเรียกกันว่าระบบอีแวป ระบบอีแวปมาเป็นตัวระบายอากาศ โดยโรงเรือนระบบนี้อาจมีการลงทุนที่สูงแต่ในระยะยาวจะได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า ทำให้ประสิทธิภาพผลผลิตหมูดีขึ้น ไม่ว่าจะ การผลิตน้ำเชื้อของพ่อพันธุ์ การเจริญเติบโตของหมู และการเพิ่มจำนวนหมูที่มากขึ้น นอกจากนี้โรงเรือนแบบปิดยังสามารถช่วยให้การควบคุมโรคติดต่อบางชนิดทำได้ง่าย ควบคุมนก แมลงวัน ยุง ซึ่งเป็นพาหะของโรคได้ด้วย

ข้อควรพิจารณาการสร้างโรงเรือนสุกรทั้งสองแบบ

  1. พื้นคอกมีความสำคัญมาก เนื่องจากมีผลต่อการเจริญเติบโตของสุกรและทำให้ผู้เลี้ยงมีความสะดวกในการทำความสะอาด โดยแผ่นพื้นคอกหมูที่ได้รับความนิยมคือแผ่นพื้นสแลท ซึ่งควรมีลักษณะลาดเอียงไปทางด้านระบายมูล ความลาดเอียง 1 นิ้วต่อ 1 เมตร เป็นการป้องกันไม่ให้พื้นคอกเปียกแฉะ และทำความสะอาดได้ง่ายแผ่นพื้นคอกหมูไม่ควรหยาบหรือลื่นจนเกินไป ถ้าพื้นคอกหยาบเกินไปจะทำให้หมูกีบเท้าแตก หากเชื้อโรคเข้าไปจะทำให้เกิดฝีหรือเท้าบวมได้
  2. ฝาผนังกั้นคอกก็สำคัญไม่แพ้แผ่นพื้นคอกหมู ฝาผนังจึงควรเลือกวัสดุที่แข็งแรง เพราะหมูชอบงัดและกัดแทะ ทำให้คอกพังได้ง่าย ฝาผนังคอกอาจเป็นไม้ เหล็กจะดีที่สุด

หลังจากรู้แล้วว่าโรงเรือนควรมีลักษณะไหนและ การสร้างโรงเรือนควรพิจารณาอะไร ก็อย่าลืมนำความรู้เหล่านี้ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับการเลี้ยงหมูดู รับรองว่าความรู้ทั้งเรื่องแผ่นพื้นคอกหมู และเรื่องอื่น ๆ เหล่านี้จะสามารถเพิ่มผลผลิตหมูในฟาร์มให้ได้อย่างแน่นอน

By |2018-12-06T14:20:15+00:00December 6th, 2018|แผ่นพื้นคอกหมู|0 Comments

About the Author: